กิจกรรมของศาสนาอิสลาม
การละหมาด
การละหมาด หมายถึง การเข้าเฝ้าอัลลอฮฺ ตะอาลา เป็นมุขบัญญัติของศาสนาอิสลาม ซึ้งมุสลิมจะต้องปฏิบัติแต่เด็กๆเป็นการสรรเสิรญเยินยอพระเกียรติคุณ การวิงวอนขอพรและการขออภัยโทษต่อพระองค์
ความสำคัญของการละหมาด
1. การละหมาดเป็นการอิบาดะฮฺร่วมระหว่างศาสนาต่างๆ เป็นการแสดงออกซึ่งการเคารพสักการะต่ออัลลอฮฺชนิดหนึ่ง การละหมาดมิได้เกิดขึ้นในสมัยอิสลาม หากแต่ชาวอาหรับก่อนอิสลามได้ใช้มาก่อน ซึ่งมีความว่าการวิงวอนขอ และการอภัยโทษ
ส่วนในสมัยอิสลาม หมายถึง คำกล่าวเฉพาะ ท่าทางหรืออิริยาบถเฉพาะของการอิบาดะฮฺ วึ่งท่านร่อซูลุลลอฮฺ (ซ.ล)ได้สอนให้บรรดามุสลิมได้รู้ คือ คำกล่าวเฉพาะ และการปฏิบัติโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อยกย่องให้เกิยรติแก่อัลลอฮฺ เริ่มด้วยการกล่าว ตักบีร อัลลอฮุอั้กบัร และสิ้นสุดลงด้วยการให้สลามว่า อัสสลามมุอะลัยกุมว่าเราะฮฺมะตุลลอฮฺ
2. การละหมาดเป็นคำที่มีความหมายมมากมาย เป็นการประทานให้จากอัลลอฮฺ ตะอาลา แก่ผู้ที่พระองค์ทรงพอพระทัยในหมู่ปวงบ่าวของพระองค์ เป็นความโปรดปรานที่มนุษย์สามารถจะติดต่อกับพระเจ้าของเขาในเวลาใดก็ได้ที่เขาต้องการ เมื่อท่านนะบี (ซ.ล) มีเรื่องกลุ้มใจท่านจะมุ่งเข้าทำละหมาด ตามรายงานของท่าน ซาบิต และ ท่านอับดิลลาฮฺ บินสลาม ซึ่งบันทึกโดย อิมาม อะหมัด อัลบัยฮะกีย์ อัฏฏ็อบรอนีย์ และอะบูนุไอม
3. มุสลิมมุมินทุกคนจะต้องเรียนรู้และศึกษาเรื่องของการละหมาดที่ถูกต้องตามบัญญัติอิสลาม ไม่อนุญาตให้มุสลิมมุมินผู้ใด ถึงแม้จะตำแหน่งสูงส่งเพียงใดที่จะต่อเติมตัดทอน หรือแก้ไขในเรื่องของการละหมาด ตามที่ท่านนะบี (ซ.ล) ได้ปฏิบัติไว้เป็นแบบอย่างที่ดี และถูกต้องสมบูรณ์แล้ว เพราะการตัดทอนหรือเติมแต่งนั้น เป็นการกระทำที่ขัดต่อคำสั่งของท่านร่อซูล (ซ.ล) ที่ได้กล่าวไว้ว่า ( ความว่า : “ท่านทั้งหลายจงละหมาดเสมือนกับที่พวกท่านเห็นฉันละหมาด” ) จากรายงานของ ท่านมาลิก อิบนิลฮุไวริซ [ บันทึกโดยบุคอรี และมุสลิม ]
และอัลลอฮฺตรัสว่า ( ความว่า : “และอันใดที่ท่านร่อซูลนำมาให้แก่พวกท่านก็จงยึดถือปฏิบัติและอันใดที่อัลร่อซูลห้ามปรามท่านก็จงละเว้น”) [ซูเราะห์อัลหัชรฺ 59/ 7]
4. การละหมาดนั้น เป็นตำแหน่งที่สูงส่งในอิสลามไม่มีการอิบาดะฮฺชนิดใดเทียบเท่า เพราะการละหมาดเป็นเสาหลักของศาสนา ศาสนาจะดำรงอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีการละหมาด
การละหมาดเป็นบัญญัติบังคับแก่บรรดามุมินและเป็นบัญญัติที่ต้องกระทำตามเวลาที่กำหนดไว้
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสไว้ใน [ซูเราะห์อัลนิซาอฺ อายะฮฺที่ 103]
( ความว่า : “แท้จริงการละหมาดนั้น เป็นบัญญัติที่ถูกกำหนดเวลาไว้แก่บรรดาผู้ศรัทธา”)
5. การละหมาดเป็นอิบาดะฮฺอันดับแรกที่ถูกบัญญัติแก่บรรดามุสลิมที่นครมักกะฮ์ก่อนที่จะอบพยพไปนครมะดีนะฮฺหนึ่งปีครึ่ง การละหมาดอย่างเดียวเท่านั้นที่ได้ถูกบัญญัติในบนชั้นฟ้า เมือคืนอัลอิสรออฺและอัลเมืยะอฺรอจ โดยอัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงสนทนากับท่านร่อซูล (ซ.ล) เพื่อบัญญัติการละหมาด นับไว้ว่าเป็นการยืนยัน ถึงการเอาใจใส่ของอัลลอฮฺ ตะอาลา ต่อตำแหน่งอันสูงส่ง และความสำคัญของการละหมาด ด้วยเหตุนี้ท่านร่อซูล (ซ.ล) จึงได้สังเสียหลังสุดก่อนที่จะจากโลกนี้ไปว่า “การละหมาด การละหมาด” ตามรายงานของศอฮาบะฮฺ สามท่านคือ อุมมุลมุอฺมินีน อุมมุสะลามะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา ท่านอะนัส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ และท่านอิบนุอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา บันทึกโดย ท่านอะหมัด อันนะซาอีย์ , อิบนิมาญะฮฺ อิบนฺ อ บบาน และอัฏฏ็อบรอนีย์
6. ท่านร่อซูล (ซ.ล) ได้มีความห่วงใยมากต่อการละหมาดโดยท่านสั่งเสียบิดามารดาให้ใช้ลูกหลานของตนปฏิบัติละหมาดเมื่ออายุครบ 7 ปี และใช้ให้เฆี่ยนตีลูกหลานถ้าเขาไม่ละหมาดเมื่ออายุ 10 ปี ทั้งนี้
ดังมีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนฺอัมรฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า ( ความว่า : “พวกท่านจงใช้เด็กๆของพวกท่านให้ทำละหมาดเมื่ออายุ 7 ปี และจงเฆี่ยตีพวกเขาเมื่ออายุ 10 ปี เพื่อการละหมาด และจงแยกพวกเขาออกจากกันในที่สำหรับนอน”) [ บันทึกโดย อะหมัด และอะบูดาวูด และอัลฮากิม ]
จุดมุ่งหมายในการนี้ก็เพื่อให้บุตรหลานมีความเคยชินต่อการละหมาดเมื่อเขาเติบโตขึนก็จะไม่เป็นการลำบากที่จะปฏิบัติละหมาด และเพื่อที่จะให้การละหมาด และผลประโยชน์ของการละหมาดเป็นงานชิ้นหนึ่งที่อยู่ในความห่วงใย และแนวปฏิบัติในความประพฤติชองเขา
7. การละหมาดเป็นความโปรดปรานอันใหญ่หลวงที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงมอบให้แก่มุอฺมิน เพื่อเปิดโอกาสให้มุอฺมินเข้าเฝ้าพระเจ้าของเขา และสารภาพผิดในบาปกรรมที่ได้กระทำไว้ ในเวบาเดียวกันเขาก็ขอความเมตตาธรรมต่อพระองค์อย่างใกล้ชิด การละหมาดเป็นงานชิ้นแรกที่มุอฺมินจะถูกชำระสอบสวนในวันปรโลก
ดังหะดิษของท่านนะบีมูฮัมหมัด (ซ.ล) ที่ว่า ( ความว่า : มีรายงานจากอะบีฮุรอยเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ แจ้งว่าท่านร่อซูล (ซ.ล) กล่าวว่า: แท้จริงสิ่งที่มนุษย์จะถูกสอบถาม ในวันกิยามะฮฺจากการงานของพวกเขา ก็คือ การละหมาด พระเจ้าของพวกเขาจะตรัสแกเมะลาอีกะฮฺ ทั้งๆที่พระองค์ทรงรอบรู้ดียิ่งว่า พวกเจ้า จงดูการละหมาดของบ่าวของข้าว่าเขาทำไว้อย่างสมบูรณ์หรือบกพร่องประการใด หากว่าการละหมาดของเขาสมบูรณ์ก็จะถูกบันทึกให้เขาอย่างสมบูรณ์ และหากว่าการละหมาดของเขาบกพร่องไปบ้าง พระองค์ตรัสว่าจงดูซิว่าสำหรับบ่าวของข้าคนนี้มีละหมาดซุนนะฮฺบ้างไหม? หากว่าเขามีซุนนะฮฺ ก็จงทำให้การละหมาดฟัรฎูของบ่าวผู้นี้สมบูรณ์จากการละหมาดซุนนะฮฺของเขา แล้วกิจการงานอื่นๆก็จะถูกสอบสวนในทำนองนี้ )
[ บันทึกโดย อะบูดาวูด อันนะซาอี อัตติรมีซี และอัลฮากิม ]
ผลานิสงส์ในการไปทำละหมาดที่มัสสยิด
( ความว่า : “ผู้ใดได้ไปหรือกลับจากมัสยิด อัลลอฮฺได้ทรงตระเตรียมที่อยู่ไว้ให้เขาในสวนสวรรค์ ทุกครั้งที่เขาไปหรือกลับจากมัสยิด”) [บันทึกโดย อัลบุคอรี และมุสลิม]
ข้อนี้สงเสริมให้มีการละหมาดร่วมกัน ณ มัสยิด
การละหมาดจะช่วยยับยั้งมิให้กระทำความชั่ว
การละหมาดในอิสลามโดยที่ประมวลไว้ด้วยการมุ่งมั่นต่ออัลลอฮฺ มีการยืนและการสุญูดต่อพระองค์รวมทั้งครอบคุมถึงความหมายแห่งการใกล้ชิดกับพระองค์ ทำให้ผู้กระทำละหมาดมีความสัมพัน์กับพระผู้สร้างเขาทำให้เขามีความรู้สึกถึงตำแหน่งอันสูงสงของการละหมาดในทัศนะของเขา และทำให้เขาตระหนักถึงร่องรอยแห่งเกีนรติคุณจนกระทั่งมีความรู้สึกละอายแก่ตนเอง ที่จะกระทำชั่วกระทำลามก และการกระทำที่ไม่ถูกต้องทุกสิงทุกอย่างที่ขัดต่อบัญญัติศาสนาและศิลธรรมของอิสลาม เพราะทุกครั้งที่เขามีความนิกคิดที่จะกระทำสิ่งไม่ดีงามจะมีเสียงกระซิบเรียกเขาจากส่วนลึกของจิตใจให้ระงับการกระทำนั้นๆเสียอัลลอฮฺ ตะอาลา พระผู้ทรงประทานความดีงามมากหลาย แก่ปวงมนุษย์ด้วยนิอฺมะฮฺแห่งการมีชีวิต และทรงโปรดปรานด้วยนิอฺมะฮฺอีกมากหลายอย่างสมบูรณ์ด้วยการฮิดายะฮฺไปสู่แนวทางที่พระองค์ทรงพอำระทัยทรงให้เกียรติแก่มนุษย์ให้มีความใกล้ชิดกับพระองค์ดว้ยการละหมาด ดังนั้นจะเป็นการสมควรละหรือที่จิตใจของเขาจะยอมสยบต่อชัยฏอนด้วยการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อพระผู้ทรงสร้างเขาขึ้นมา นี้คือส่วนหนึ่งของร่องรอยของการละหมาดที่มีต่อมุอฺมินผู้ศรัทธา ซึ่งกุรอานได้กล่าวไว้อย่างสวยงามด้วยคำตรัสของพระองค์ที่ว่า ( ความว่า : “และเจ้าจงดำรงการละหมาดไว้ เพราะแท้จริงการละหมาดนั้นจะยั้งการทำลามก และความชั่ว และการลำลึกถึงอัลลอฮฺนั้นยิ่งใหญ่มาก และอัลลอฮฺทรงรอบรู้สิ่งที่พวกเจ้ากระทำ”)
[ อัลอังกะบูต :45 ]
ขอให้พิจารณาในอายะฮฺนี้ จะเห็นได้ว่าอัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า ( อ้ากีมุซซ่อลาต้า “ เจ้าจงดำรงการละหมาดไว้” ) พระองค์มิได้ตรัสว่า ( ซอลลู ) เพราะว่าการดำรงไว้ซึ่งสิ่งหนึ่ง คือการปฏิบัติอย่างสมบูรณ์แบบเพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมาย
คือการมุ่งหน้าเข้าหาอัลลอฮฺ มิความเกรงกลัวอย่างแท้จริงความเมตตาและความยิ่งใหญ่ของพระองค์จะปรากฎเป็นภาพลักษณ์ เพื่อชี้แนะจิตใจให้หันห่างจากความสกปรกของโลกดุลยาไปยังโลกแห่งความบริสุทธิ์ เมือ่ผู้ปฏิบัติละหมาดดำรงไว้ซึ่งการละหมาดตามรูปแบบถูกต้องแท้จริงแล้ว สิ่งย่วยวนต่างๆในโลกดุลยานี้ ในทัศนะของเขาแล้วเป็นสิ่งไร้ค่าปราศจากความหมาย มันไม่บังอาจจะมาหลอกลวงเขาในรูปแบบของความเพลิศแพร้ว และความใคร่ใฝ่ต่ำ ดังนั้นเราจะพบเห็นในอัลกุรอานว่า ในทุกแห่งอัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงกล่าวชมเชยเกียรติคุณ หรือส่งเสริมการละหมาดไว้ด้วยคำว่า ( อัลอิกอมะฮฺ ) คือการดำรงไว้ เช่นในคำตรัสของพระองค์ที่ว่า ( ว่าอ้ากีมุซซ่อลาต้า ว่าอ้ากีมุซซ่อลาต้า ) คือพวกเขาได้ดำรงไว้ซึ่งการละหมาด หรือพวกจาจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด อัลกุรอานมิได้กล่าวถึงคำว่า ( มุซอลลีน ) คือบรรดาผู้ปฏิบัติละหมาดโดยเฉพาะแว้แต่นได้กล่าวไว้ในลักษณะของพวกมุนาฟิกีน ซึ่งอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้กล่าวไว้ว่า ( ความว่า :ดังนั้นความวิบัติจะได้แก่บรรดาผู้ทำละหมาดบรรดาผู้ที่พวกเขาเผลอไผลในการละหมาดของพวกเขา”และจงพินาจในตอนท้ายของอายะฮฺที่ว่า ( ว่าล้าซิกรุ้ลลอฮี้อักบัร )และการลำลึกถึงอัลลอฮฺนั้นยิ้งใหญ่มาก กล่าวคือการลำลึกถึงอัลลอฮฺเป็นสิ่งที่ยึ้งใหญ่ ซึ่งรวมถึงการละหมาดด้วย เพราะการลำลึกถึงอัลลอฮฺจะทำให้หัวใจอ่อนโยนนอบน้อมอันจะนำมาซึ่งคุณลักษณะที่น่าสรรเสริญทุกประการ และเป็นผลให้เกิดสุขการสบายใจแก่ผู้ปฏิบัติ และความเจริญรุ่งเรืองแก่สังคม หากว่าหัวใจปราศจากเสียซึ่งการลำลึกถึงอัลลอฮฺ ตะอาลา แล้วเปรียบเสมือนต้นไม้ที่กำลังออกดอกออกผล เมื่องดการให้น้ำแก่มันลำต้นก็จะเหี่ยวแห้งกิ่งก้านก็จะอับเฉามันก็จะใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้นอกจากการเป็นท่อนฝืน
ผลอนิสงส์แห่งการทำละหมาด
ผลานิสงส์แห่งการละหมาดนั้นเราไม่มีหน้าที่จะอธิบายเพราะผลแห่งหารปฏิบัตินั้น ย่อมอยู่ที่อัลลอฮฺ ตะอาลา และเราใคร่นำหะดิษบางบทมากล่าวไว้ในที่นี้ด้วยดังนี้
จากรายงานของท่าน อะบูฮุรอยเราะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ฉันได้ยินท่านร่อซูล (ซ.ล) กล่าวว่า ( ความว่า : “ท่านทั้งหลายจะเห็นเป็นประการใด ? หากว่ามีลำน้ำสายหนึ่งอยู่หน้าประตูบ้านของคนหนึ่งคนใดในพวกท่าน ซึ่งเขาจะอาบน้ำนั้นวันละ 5 ครั้งทุกวัน จะยังมีสิ่งสกปรกใดหลงเหลืออยู่ที่เขาอีกไหม ? เขาทั้งหลายตอบว่า :จะไม่มีสิ่งสกปรกใดๆหลงเหลืออีกเลย ท่านนะบี (ซ.ล) กล่าวว่า ในทำนองนั้นและการละหมาดทั้ง 5 ก็เช่นเดียวกัน อัลลอฮฺจะทรงลบล้างความผิดทั้งปวงให้ด้วยการทำละหมาดเหล่านั้น” ) [ จากบันทึกของ อัล-บุคอรี และมุสลิม ]
เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นว่า การอาบน้ำวันละ 5 ครั้งนั้น สามารถขจัดความสกปรกโสมมให้หมดสิ่นไปได้ฉันใด การทำละหมาดวันละ 5 ครั้ง ก็สามารถลบล้างความผิดความบาปให้หมดสิ้นไปได้ฉันนั้น มีรายงานจาก อะบีฮุรอยเราะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ แจ้งว่าท่านร่อซูล (ซ.ล) กล่าวว่า ( ความว่า : “การทำละหมาดทั้ง 5 เวลา และละหมาดวันศุกร์หนึ่งถึงอีกวันศุกร์หนึ่ง และรอมฎอนหนึ่งถึงอีกรอมฎอนหนึ่ง เป็นการลบล้างบาปที่เกิดขึ้นในระหว่าช่วงเวลาเหล่านั้น ตลอดเวลาที่เขาไม่กระทำความผิดขั้นมหันต์” ) [ จากบันทึกของ มุสลิม และอัตติรมีซี ]
การทำละหมาดครั้งหนึ่งๆนั้น เป็นการลบล้างความผิดที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาก่อนจากนั้น เช่น หลังละหมาดศุบฮฺ แล้วท่านเกิดไปทำความผิดขึ้นอันมิใช่ความผิดขั้นมหันต์เป็นความผิดเล็กๆน้อยๆพอได้เวลาก่อนละหมาดดุฮรฺท่านก็ทำละหมาดดุฮรฺการละหมาดครั้งนี้แหละได้ช่วยลบล้างความผิดที่ท่านได้ก่อขึ้นในเวลาก่อนละหมาดดุฮรฺ หรือท่านไปละหมาดวันศุกร์หนึ่งครั้งวันต่อๆมาท่านได้กระทำความผิดขึ้นจวบจนบรรลุวันศุกร์อีกครั้งหนึ่งท่านก็ไปละหมาดวันศุกร์ ละหมาดวันศุกณืครั้งหลังของท่านนี้จะช่วยลบล้างความผิดที่ท่านทำขึ้นระหว่างวันศุกร์ที่แล้วเรื่อยมาถึงวันศุกร์หลัง ดังนี้เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น